วันอาทิตย์ที่ 15 เมษายน พ.ศ. 2561

บันทึกการเรียนครั้งที่ 8

บันทึกการเรียนครั้งที่ 8
วันจันทร์ที่ 5 มีนาคม 2561
เวลา 11.30-14.30 น.




แผนการสอนเคลื่อนไหวและจังหวะ
        กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ หมายถึง กิจกรรมที่จัดให้เด็กได้เคลื่อนไหวส่วนต่างๆ ของร่าง กายอย่างอิสระ โดยใช้เสียงเพลง จังหวะ และทำนอง คำคล้องจอง หรือเครื่องดนตรีประกอบ การเคลื่อนไหว เพื่อส่งเสริมให้เด็กเกิดจินตนาการความคิดสร้างสรรค์ เรียนรู้จังหวะ และควบคุมการเคลื่อนไหวของตนเองได้

กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะมีประโยชน์ต่อเด็กปฐมวัยอย่างไร
  • การเคลื่อนไหวจะช่วยให้สายตาของเด็กมีพัฒนาการ รู้ช่องว่างระหว่างบุคคลและสิ่งของ
  • เด็กต้องการเดิน วิ่ง หรือกลิ้ง การกระทำดังกล่าวเกี่ยวข้องกับกลไกของกล้ามเนื้อมัดใหญ่ของร่างกาย
  • การเคลื่อนไหวจะช่วยให้เด็กรับรู้ภาพที่ปรากฏ แยกออกระหว่างวัตถุกับตัวเด็ก รวมทั้งการกะระยะใกล้-ไกลของตัวเด็กกับวัตถุ
  • ความสามารถของการควบคุมและการประเมินตนเองเกี่ยวกับระยะ น้ำหนัก แรง ความเร็ว ความเร่ง ซึ่งจะเกี่ยวข้องกับการเคลื่อนไหวที่เด็กควรตระหนักรู้
  • ความสามารถในการจำแนกเสียงต่างๆ ในสิ่งแวดล้อมและวัตถุในสิ่งแวดล้อมว่ามีความสัมพันธ์อย่างไร และเด็กเองควรจะตอบสนองอย่างไร อีกทั้งยังเป็นเรื่องของการตระหนักในการฟัง
  • กลไกการรับรู้จะได้รับการพัฒนา เด็กจะมีความสามารถในการนำเอาการรับรู้สิ่งเร้าด้วยการฟังและการสังเกตมาแสดงออกทางการเคลื่อนไหว
  • เด็กแต่ละคนมีความแตกต่างกันของรูปร่าง และเด็กที่แตกต่างกันในแต่ละอายุจะมีขนาดและรูปร่างต่างกัน ดังนั้นเด็กจะเรียนรู้ตนเองและสมรรถนะตนเองต่างกัน
ครูจัดกิจกรรมอย่างไร
        กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ เป็นกิจกรรมที่ส่งเสริมการเคลื่อนไหวส่วนต่างๆของร่างกาย กระทรวงศึกษาธิการจึงได้กำหนดลักษณะของการจัดกิจกรรม ดังนี้
1. เป็นการเคลื่อนไหวร่างกายที่ใช้กล้ามเนื้อมัดใหญ่ ที่มีรูปแบบของการเคลื่อนไหวดังนี้
  • การเคลื่อนไหวพื้นฐาน ได้แก่ การเคลื่อนไหวอยู่กับที่ การเคลื่อนไหวเคลื่อนที่
  • การเลียนแบบ เช่น ท่าทางสัตว์ ท่าทางคน เครื่องยนต์กลไก และเครื่องเล่น ปรากฏการณ์ธรรมชาติ
  • การเคลื่อนไหวตามบทเพลง เช่น การเคลื่อนไหวหรือทำท่าทางประกอบเพลง
  • การทำท่าทางกายบริหารประกอบเพลง เช่น การทำท่าทางกายบริหารตามจังหวะและทำนองเพลง หรือคำคล้องจอง
  • การเคลื่อนไหวเชิงสร้างสรรค์ เช่น การเคลื่อนไหวที่ให้เด็กคิดสร้างสรรค์ท่าทางขึ้นเอง อาจชี้นำด้วยการป้อนคำถาม เคลื่อนไหวโดยใช้อุปกรณ์ประกอบ เช่น ห่วงหวาย แถบผ้า ริบบิ้น ถุงทราย
  • การเล่นหรือการแสดงท่าทางตามคำบรรยายเรื่องราว เช่น การเคลื่อนไหวหรือแสดงท่าทางตามจินตนาการจากเรื่องราวหรือคำบรรยายที่ครูเล่า
  • การปฏิบัติตามคำสั่งและข้อตกลง เช่น การเคลื่อนไหวหรือทำท่าทางตามสัญญาหรือคำสั่งตามที่ได้ตกลงไว้ก่อนเริ่มกิจกรรม
  • การฝึกทำท่าทางเป็นผู้นำ-ผู้ตาม เช่น การเคลื่อนไหวหรือทำท่าทางจากความคิดสร้างสรรค์ของเด็กเอง แล้วให้เพื่อนปฏิบัติตาม
2. ใช้เพลง เครื่องดนตรีประกอบการเคลื่อนไหว คำคล้องจอง
3. ส่งเสริมให้เด็กได้ใช้ส่วนต่างๆ ของร่างกายให้ประสานสัมพันธ์กันอย่างสมบูรณ์ด้วยการใช้จินตนาการและความคิดสร้างสรรค์สู่การเคลื่อนไหวลักษณะต่างๆ คือ เคลื่อนช้า ได้แก่ คืบ-คลาน เคลื่อนเร็ว เช่น วิ่ง เคลื่อนนุ่มนวล เช่น การบิน การไหว้ เคลื่อนไหวขึงขัง เช่น การกระทืบเท้าดังๆ ตีกลองดังๆ การเคลื่อนไหวแสดงท่าทางร่าเริงมีความสุข เช่น การตบมือตามจังหวะ และการเคลื่อนไหวแสดงความเศร้าโศก เสียใจ เช่น แสดงสีหน้า ท่าทาง เป็นต้น
4. การเคลื่อนไหวแสดงทิศทาง เช่น ข้างหน้า ข้างหลัง ข้างซ้าย ข้างขวา เคลื่อนตัวขึ้น-ลง เคลื่อนไหวรอบทิศ








Motion and rhythm - เคลื่อนไหวและจังหวะ
Jump - กระโดด
Exercise - กายบริหาร
Music - ดนตรี
Creative - สร้างสรรค์
Free - อิสระ


ทราบถึงความสำคัญของการจัดกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ รู้ถึงขั้นตอนการสอนและวิธีการเทคนิคต่างๆที่สามารถนำไปประยุกต์ปรับใช้กับการสอนของเราได้ในอนาคต

ประเมินตนเอง
มาเรียนตรงเวลา  มีการจดบันทึก  มีส่วนร่วมในตอบคำตอบาจารย์

ประเมินเพื่อน
ช้วยกันตอบคำถาม มีการจดบันทึก

ประเมินอาจารย์
แต่งกายสุภาพเรียบร้อย มาสอนตรงเวลา มีคำถามให้คิดตลอกเวลา


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

บันทึกการเรียนครั้งที่ 17

บันทึกการเรียนครั้งที่ 17 วันอังคารที่ 1 พฤษภาคม 2561 เวลา 13.00-15.30 น. วันจันทร์ที่ 23 เมษายน 2561 เวลา 11.30-14.30 น. ...